การเขียนรายงานที่ดี
รูปแบบของรายงาน
ส่วนประกอบตอนต้น
ส่วนเนื้อเรื่อง
หน้าปกรายงาน
ควรเขียนด้วยรายมือตัวบรรจง ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษาคำขอบคุณ
เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้คำนำ
เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียนสารบัญ
หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงานบัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี)
เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญส่วนที่เป็นเนื้อหา
ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
อัญประกาศ คือ ข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลงเชิงอรรถ คือ ข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง
ส่วนประกอบตอนท้าย
บรรณานุกรม
คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แตง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้าภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์
คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นกระบวนการเขียนรายงาน
รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้
ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้
1.การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน2.การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
3.การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
บทนำหรือความนำซึ้งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
4.การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
5.บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
6.การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตาม
*การจัดระยะขอบ หรือจัดกั้นหน้า - กั้นหลัง
กั้นหน้า ระยะขอบเท่ากับ 3.17 cmกั้นหลัง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm
ขอบบน ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm หรือ 3.00 cm
ขอบล่าง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm หรือ 2.00 cm
*รูปแบบของปก
ปกจะประกอบด้วยข้อความ 4 ส่วนคือส่วนที่ 1 คือชื่อเรื่องรายงาน
ส่วนที่ 2 คือชื่อผู้จัดทำรายงาน
ส่วนที่ 3 คือเสนอใคร
ส่วนที่ 4 คือบอกถึงรายงานฉบับนี้เป็นของวิชาอะไร ภาคเรียนและปีการศึกษาใด โรงเรียนอะไร
ข้อความทั้ง 4 ส่วน ให้มีการเว้นระยะห่างของแต่ละส่วนให้เท่า ๆ กัน
ข้อความส่วนที่ 1 อาจมีขนาดอักษรที่ใหญ่กว่าข้อความส่วนอื่น ๆ ก็ได้
ข้อความในส่วนที่ 2 – 3 ควรใช้ขนาดอักษรที่เท่ากัน
สำหรับข้อความในส่วนที่ 4 ขนาดอักษรอาจมีขนาดเท่ากับส่วนที่ 2 และ 3 หรืออาจจำเป็นต้องมีขนาดอักษรที่เล็กกว่าส่วน 2 – 3 เล็กน้อย
ดังตัวอย่างรูปแบบของรายงานดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น